คดีพลิก สินสอด 1 ล้าน ที่หายไป ไม่ใช่ช่างภาพแต่เป็น
กรณีนายธนา (นามสมมติ) ช่างภาพรายหนึ่ง โพสต์เฟซบุ๊กเล่าเหตุการณ์ว่า หลังจากรับงานถ่ายภาพและงานออร์แกไนซ์พิธีแต่งงานแห่งหนึ่ง แต่ถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย เนื่องจากเงินสินสอดมูลค่า 1 ล้านบาทได้หายไป ทำให้ญาติ ๆ ของคู่บ่าวสาวสงสัยว่าเป็นหัวขโมย
กระทั่งตำรวจเค้นสอบปากคำทางโทรศัพท์กับเจ้าสาวและเจ้าบ่าว จนเจ้าบ่าว ให้การสารภาพว่า เป็นผู้นำเงินดังกล่าวออกไปจากห้องนอนที่แม่เจ้าสาวเอาเงินไปเก็บ โดยที่ไม่ได้บอก เจ้าสาว และคนอื่น ๆ พร้อมกับยอมรับว่าเงินสินสอดเป็นเงินที่เช่ามา
เจ้าบ่าว มอบสินสอดเป็นเงินจำนวน 1 ล้านบาทให้พ่อของนางสาวน้ำ เพื่อสู่ขอตามประเพณี แต่เงินสินสอดนั้นเป็นเงินที่นางสาวแพรม เช่ามาจากร้านบริการเช่าสินสอดออนไลน์ ในอัตราค่าบริการ 40,000 บาท ซึ่งติดต่อขอเช่าก่อนหน้าที่จะจัดงานแต่งไม่กี่วัน ด้วยการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ไปขอเช่า
ในวันงานแต่ง ทางร้านก็ส่งตัวแทน 1 คน มาจากกรุงเทพฯ เพื่อนำเงินมามอบให้กับเจ้าบ่าว โดยเจ้าบ่าวใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของตัวเองและเจ้าสาว เป็นเอกสารเช่า แต่เจ้าสาวไม่มีส่วนรู้เห็นกับการเช่าสินสอดในครั้งนี้ หลังจากที่แม่ของเจ้าสาวรับสินสอดก็ไม่ได้แกะเงินออกมานับเหมือนกับงานแต่งทั่วไป
จากนั้นเจ้าบ่าว ก็ใช้ช่วงเวลาบ่าย ๆ ที่ทุกคนกำลังชุลมุนกับงานเลี้ยงที่ชั้น 1 ขึ้นไปใช้กุญแจซึ่งมีอยู่แล้วที่ตัว ไขประตูและนำเงินสินสอดไปโดยไม่ได้บอกใคร ก่อนจะส่งคืนให้กับตัวแทนของร้านเช่าสินสอดที่รออยู่ภายในงาน ซึ่งเข้ามาในฐานะเพื่อนเจ้าบ่าว เมื่อตัวแทนร้านได้รับเงินคืนก็ถือเป็นอันหมดหน้าที่ของเงินสินสอด 1 ล้านบาท ตัวแทนก็นำเงินเดินทางกลับกรุงเทพฯ ทันที ทำให้เมื่อแม่เจ้าสาวที่ขึ้นไปบนห้องนอนเก็บเงินชั้น 2 เห็นว่าเงินหายไปแล้ว จึงตกใจและรีบแจ้งตำรวจ
ต่อมาแม่เจ้าสาวไม่พอใจที่เงินหาย คิดว่ามีการขโมยเกิดขึ้น จึงถามกับทีมช่างภาพด้วยน้ำเสียงเชิงตะคอก จนช่างภาพอย่างนายธนา (นามสมมติ) ต้องออกมาโพสต์เตือนภัย และกลายเป็นข่าวดังกล่าว โดยที่นางสาวแพรม ไม่ยอมออกมาพูดความจริงตั้งแต่แรก เพราะอับอายครอบครัวเจ้าสาวที่ต้องไปเช่าเงินมาเพื่อสู่ขอฝ่ายหญิง ประกอบกับเห็นว่าเป็นคดีความไปแล้วด้วย
ทั้งนี้ ในส่วนของคดีความนั้น เบื้องต้นตำรวจได้ดำเนินคดีกับเจ้าบ่าว ในข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถาน เนื่องจากให้การสารภาพและยินดีที่จะรับผิด และพ่อแม่ของเจ้าสาวก็ประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับเจ้าบ่าว เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1437 เงินสินสอดเป็นการให้ตามสัญญาต่างตอบแทน และทรัพย์ที่เป็นสินสอดนั้นเมื่อเจ้าบ่าวได้ส่งมอบไปแล้ว ย่อมถือเป็นสิทธิเด็ดขาดของฝ่ายหญิงทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อน ดังนั้น การที่เจ้าบ่าวแอบเอาเงินออกไป ผู้เสียหายคือพ่อแม่ของเจ้าสาว ซึ่งไม่รู้ว่าเจ้าบ่าวไปเช่าสินสอดมา
ขอบคุณ ทุบโต๊ะข่าว Amarin TV 34