ประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ที่มีข่าวลว นลา มสา ว

ประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ที่มีข่าวลว นลา มสา ว

จากกรณีทนายตั้ม แฉ รองหัวหน้าพรรคใหญ่ลวนลามสาว ซึ่งรองหัวหน้าพรรคใหญ่ รายนี้ถูกมุ่งเป้าว่าเป็นนายปริญญ์ พาณิชภักดิ์ และเจ้าตัวได้ออกมาแถลงข่าวด่วน พร้อมประกาศ ด่วน ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ประกาศลาออกทุกตำแหน่งพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2565  ปริญญ์ พาณิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวล่าสุดที่พรรคประชาธิปัตย์ถึงกรณีข่าวลวนลามเหยื่อสาวซึ่งทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ได้เข้าแจ้งความไว้

นาย ปริญญ์ พาณิชภักดิ์ ประกาศลาออกทุกตำแหน่งพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ตอนนี้กลายเป็น อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดใจถึงข่าวที่เกิดขึ้นว่า รู้สึกช็อคที่เห็นข่าว ยืนยัน ไม่ใช่เรื่องจริง

แต่ยอมรับว่าเคยพบกับหญิงสาวที่อ้างว่าเป็นเหยื่อและคุณแม่จริงปริญญ์ พาณิชภักดิ์ เผยการลาออกจากทุกตำแหน่งพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้เป็นความสมัครใจและความต้องการของตนไม่มีผู้ใหญ่ในพรรคมาเกี่ยวข้อง ตนคิดไว้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว เบื้องต้นปฏิเสธข้อกล่าว

ขอลาออกจาก ทุกตำแหน่ง ของพรรคประชาธิปัตย์นับจากนี้ และตัดสินใจ แสดงความรับผิดชอบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมสำหรับประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา ทั้งสายการเมืองและเศรษฐศาสตร์โดยปริญญ์ พานิชภักดิ์ เป็นลูกชายของนายศุภชัย พานิชภักดิ์ และนางศสัย พานิชภักดิ์ มีน้องสาว 1 คน

คือ นางสาวนฤน พานิชภักดิ์ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2520 ที่ กรุงเทพมหานคร เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

ก่อนจะย้ายไปศึกษาระดับไฮสคูลต่อที่ Millbrook House school และ Charterhouse School ประเทศอังกฤษนายปริญญ์ จบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์และการเงิน BSc. Economics and International Relations จาก L.S.E. (London School of Economics and Political Science)

ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2542ต่อมาได้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง อีกหลายครั้ง อาทิ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม (วธอ.) รุ่นที่ 2 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.)

รุ่นที่ 15สำหรับชีวิตการทำงาน ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เริ่มต้นเป็นนักเศรษฐศาสตร์และการเงิน ตั้งแต่พ.ศ. 2542 ในตำแหน่งวาณิชธนากร ที่ ABN AMRO Bank สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2545) และยังทำงานในตำแหน่งอื่นๆดังนี้

-ตำแหน่งรองประธานอาเซียน-UK Business ฟอรั่ม (AUBF)[5] (พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2548)

-ผู้ร่วมก่อตั้งเทศกาลหนังไทย-UK (พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2548)

-รองประธานสายการตลาดและวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ Deutsche Bank – Tisco (พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2550)

-หัวหน้าสายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต ลียองเนส์ (CLSA) (พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551)

-ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานการลงทุนภูมิภาคเอเชีย บริษัท เครดิต ลียองเนส์ ฮ่องกง (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555)

-กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ CLSA (พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2562)

-ที่ปรึกษาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2560)

-กรรมการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (พ.ศ. 2558 – พ.ศ. 2562)

-กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562)

-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562)

-กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562)

-ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2562)

-กรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญการศึกษาผลกระทบ CPTPP รัฐสภา (พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2563)

-ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2565)

เส้นทางการเมืองปริญญ์ พานิชภักดิ์ ได้ก้าวเข้าสู่การทำงานด้านการเมืองเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมาด้วยตำแหน่งรองหัวพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษารองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา และเลขาธิการคณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภาต่อมาในปีพ.ศ. 2563 ก็ได้ช่วยขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยการเข้ารับตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ โดยมีผลงานเป็นที่รู้จักมากมาย อาทิ ผลักดันนโยบายบาซูก้า 2 ล้านล้านบาท โครงการเรียนจบพบงาน โครงการแก้ปัญหาสินค้ามังคุดล้นตลาด

นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้กับหลายหน่วยงาน ได้แก่

-ผู้ร่วมก่อตั้งร้านอาหารโฟร์ซีซัน (ประเทศไทย) (พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน)

-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ (NEA) กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)

-กรรมการ บริษัทสินวัฒนา Crowdfunding (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)

-กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)

-ที่ปรึกษา และคณะทํางาน รองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)

-ที่ปรึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)

-เลขาฯ คณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา

Leave a Reply

Your email address will not be published.